ตะแกรงไวร์เมช ลวดกลม ข้ออ้อย

มาตรฐานอุตสาหกรรม
16 เมษายน 2020
การเทพื้น คอนกรีต
16 เมษายน 2020

ตะแกรงไวร์เมช ลวดกลม ข้ออ้อย

 

เหล็กเส้นกลมและข้ออ้อย

ไวร์เมช หรือ ตะแกรงเหล็กไวร์เมช เกิดจากการนำลวดเหล็กรีดเย็น(Cold Drawn Steel Wire) มาทอติดกันเป็นผืน
อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้า ทำให้จุดตัดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีกำลังคลากสูงกว่าเหล็กเส้นธรรมดาที่ใช้กันอยู่ทั่วไป
ถึง 2 เท่า เป็นผลิตภัณฑ์เอนกประสงค์ที่ใช้ได้กับงานคอนกรีตเสริมเหล็กต่าง ๆ สามารถตัดเป็นแผง หรือม้วน ได้ตามต้องการโดยไม่เสียเศษ
สามารถดัดขึ้นรูปได้ง่ายเพื่อใช้ในงานก่อสร้างเฉพาะ เช่น ถนนคอนกรีต ท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป เขื่อน เทพื้นคอนกรีต เป็นต้น
ซึ่งไวร์เมทมีทั้งแบบเหล็กเส้นกลมและข้ออ้อย เพื่อเพิ่มความหลากหลายในการเลือกใช้ให้กับผู้ใช้งาน โดยเหล็กเส้นข้ออ้อยนั้นสามารถยึดเหนี่ยว
คอนกรีตได้มากกว่าในขนาดความหนาของเหล็กที่เท่ากันเทียบกับเหล็กเส้นกลม เพราะมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ คล้ายข้ออ้อยนั่นเอง
แต่สุดท้ายแล้วการเลือกใช้ไวร์เมทก็ขึ้นอยู่กับช่างหรือวิศวกร ผู้ตัดสินใจในการเลือกใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมชแบบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับงานก่อสร้าง

เหล็กเส้นกลม (Round Bar)

ช่างโดยทั่วไปมักเรียกกันว่า เหล็กRB ลักษณะภายนอกจะมีผิวเรียบเกลี้ยง หน้าตัดกลม
มีขายกันอยู่ทั่วไป ใช้ในการยึดหนี่ยวระหว่างเหล็กกับคอนกรีต การใช้งานต้องมีการดัดงอ
เพื่อที่จะสามารถถ่ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนมากจะใช้กับงานโครงสร้าง
เช่น ปลอกเสา ปลอกคาน โครงถนน งานก่อสร้างขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นต้น

เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deformed Bar)

เป็นเหล็กที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างเสริมคอนกรีตที่ต้องการโครงสร้างแข็งแรง
เช่น ตึกอาคารสูง ถนนคอนกรีต สะพาน เขื่อน สนามบิน บ่อหรือสระน้ำ เป็นต้น
มีลักษณะเป็นเส้นกลมที่มีบั้ง ผิวของเหล็กจะมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ อยู่ตลอดทั้งเส้น
ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้เหล็กข้ออ้อยสามารถยึดเหนี่ยวคอนกรีตได้ดีกว่าเหล็กเส้นกลม

ลักษณะเหล็กเส้นที่ดี มีคุณภาพ ควรมีลักษณะดังนี้

1. เหล็กเส้นกลม ผิวต้องเรียบเกลี้ยง ไม่มีปีก หน้าตัดกลม ไม่เบี้ยว ไม่มีรอยปริแตก
2. เหล็กข้ออ้อย ต้องมีบั้งระยะเท่ากันสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น
3. เส้นผ่านศูนย์กลางและน้ำหนักถูกต้องตามแบบที่ต้องการ
4. เมื่อดัดโค้ง งอ ต้องไม่ปริแตก หักง่าย