ข่าวสาร66 วิบากกรรม“เหล็กแผ่นเคลือบ”

การส่งออกเหล็กแผ่นรีดร้อน (hot-rolled coil : HRC)
ข่าวสาร65
24 ธันวาคม 2022
เหล็กเส้น (rebar) และบิลเล็ต (billets) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นจากข้อเสนอขายและการเสนอราคาซื้อที่สูงขึ้น
ข่าวสารปี66 เหล็กเส้น (rebar) และบิลเล็ต (billets)
25 มกราคม 2023

ข่าวสาร66 วิบากกรรม“เหล็กแผ่นเคลือบ”

วิบากกรรม“เหล็กแผ่นเคลือบ” 6 ปีนำเข้าพุ่ง รัฐเหลว-จีนดัมพ์ราคา

Update : 15 มกราคม 2566

วิบากกรรม“เหล็กแผ่นเคลือบ” 6 ปีนำเข้าพุ่ง รัฐเหลว-จีนดัมพ์ราคา

อุตสาหกรรมเหล็กของไทยเผชิญวิบากกรรมวนเวียนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแข่งขันที่มาในรูปแบบต่างๆ ของการนำเข้า

ล่าสุด นายพงศ์เทพ เทพบางจาก รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายกสมาคมผู้ผลิตเหล็กเคลือบสังกะสี ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงปัญหาที่สะสมมานานของผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีในประเทศไทย ที่เขามองว่าเป็นตัวอย่างที่แฝงความล้มเหลวในหลากหลายมิติ

ภาพรวมเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี

นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ภาพรวม “เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี” เติบโตดีมาอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นตัวอย่างที่แฝงความล้มเหลวในหลายมิติของอุตสาหกรรมเหล็กไทย มีเหตุผลจากการนำสินค้าชนิดนี้เข้าไปใช้ทดแทนเหล็กหรือสินค้าอื่น ๆ ในหลากหลายลักษณะการใช้งาน เช่น การนำไปใช้ทดแทนเหล็กแผ่นรีดร้อนสำหรับงานโครงสร้าง ที่ช่วยลดระยะเวลาในการทำงานลงไปได้มากเพราะไม่ต้องมาเชื่อมเหล็ก หรือทาสีรองพื้นกันสนิม การใช้ทดแทนงานหลังคาในวัสดุเดิม เช่น กระเบื้อง จนเป็นที่นิยมในปัจจุบัน และเรียกกันติดปากว่า “เมทัลชีท” รวมไปถึงการใช้ในงานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ และในอุตสาหกรรมรถยนต์ สรุปได้ไม่เกินจริงว่าเหล็กชนิดนี้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันหากให้ประเมินปริมาณการบริโภคที่นับจากการผลิตในประเทศ รวมกับการนำเข้าและหักการส่งออกแล้ว การบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีของไทยจะมีค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 2 ล้านตัน แต่เมื่อหักการบริโภคในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ออก จะเหลือค่าเฉลี่ยของการบริโภคเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1-1.5 ล้านตัน ขึ้นอยู่กับราคานำเข้าจูงใจให้สั่งเข้ามาสต๊อกไว้หรือไม่ เพราะกำลังการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีในประเทศอยู่ที่ระดับ 1 ล้านตันเช่นกัน

อย่างไรก็ดีเวลานี้ผู้ผลิตในประเทศใช้กำลังผลิตเพียง 20-30 % ของกำลังผลิตที่มีทั้งหมดเท่านั้น ที่เหลือ 70-80% ของส่วนแบ่งการตลาดล้วนเป็นสินค้านำเข้า โดยเฉพาะการนำเข้าจากประเทศจีน ที่มีอิทธิพลต่อการผลิตและการกำหนดราคาในตลาดสูงมาก สังเกตได้จากตัวเลขนำเข้าจากประเทศจีนตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ถึง ไตรมาส 3 ของปี 2565 เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดี (กราฟิกประกอบ)

อ่านต่อได้ที่ : ฐานเศรษฐกิจ

#ตะแกรงเหล็กไวร์เมท #ตะแกรงเหล็ก #โรงงานผลิตไวร์เมท #ไวเมช #ไวเมท #ไวร์เมท #วายเมท #วายเมช #เทปูน #เทคอนกรีต