fbpx

ไวร์เมช-wire-mesh
ไวร์เมช-wire-mesh คืออะไร ?
20 มกราคม 2021
1 กุมภาพันธ์ 2021

TSTH คาดยอดขายงวดปี 63/64 ทะลุเป้าตามดีมานด์ฟื้น

เชื่อปีนี้โตต่อ-แรงกดดันเหล็กจีนลดลง

Update : 26 มกราคม 2564

 

 

นายราจีฟ มังกัล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทาทา สตีล (ประเทศไทย) (TSTH) เปิดเผยว่า ยอดขายเหล็กของบริษัทในงวดปี 63/64 (เม.ย.63-มี.ค.64)
จะทำได้ 1.29-1.3 ล้านตัน สูงกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ 1.22-1.23 ล้านตัน หลังจากความต้องการใช้เหล็กทั้งในและต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมากในช่วงปลายปี
ต่อเนื่องมาถึงต้นปี 64 เนื่องจากโครงการต่างๆ เริ่มกลับมาก่อสร้างมากขึ้นในช่วงไตรมาส 3/63 และเพิ่มขึ้นมามากตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ย.63 โดยเฉพาะความต้องการ
ใช้เหล็กลวดในประเทศเพิ่มจาก 88,000 ตัน/ไตรมาส มาเป็น 105,000 ตัน/ไตรมาสในช่วงปลายปี 64 ส่งผลบวกต่อยอดขายเหล็กของบริษัท โดยที่ยอดขายของบริษัท
ในช่วง 9 เดือนแรกของงวดปี 63/64 ทำได้แล้ว 937,000 ตัน

และแม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศจะยังไม่คลี่คลาย ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่บริษัทมองว่าโครงการต่างๆ
จะเริ่มทยอยกลับมาลงทุนอีกครั้งหลังจากเลื่อนแผนงานมาจากปี 63 โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนา
เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โครงการสนามบินอู่ตะเภา เป็นต้น คาดว่าจะทำให้ความต้องการใช้เหล็กในประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 10% มาอยู่ที่ 18-19 ล้านตัน
จากปี 63 ที่มีความต้องการ 16-16.5 ล้านตัน ซึ่งปรับตัวลดลงจากปี 62 ราว 13% ดังนั้น จึงเชื่อว่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้กับเป้าหมายยอดขายของบริษัทในงวดปี 64/65
(เม.ย.64-มี.ค.65) เบื้องต้นคาดว่าจะยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 63/64

ขณะที่สถานการณ์เหล็กจากจีนที่เข้ามาตีตลาดในไทยนั้นจะมีปริมาณลดลง เนื่องจากความต้องการใช้เหล็กในประเทศจีนกลับมาเพิ่มสูงขึ้นมาก และราคาขายเหล็ก
ก็เพิ่มขึ้นสูงด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้ผลิตเหล็กในประเทศจีนหันกลับไปเน้นขายในประเทศเป็นหลัก และชะลอการส่งออกเหล็ก ทำให้การปริมาณเหล็กจากจีนลดลง
ส่งผลบวกต่อผู้ผลิตเหล็กในภูมิภาคในด้านการแข่งขันที่ลดลง รวมไปถึงราคาขายเหล็กก็จะปรับเพิ่มขึ้นด้วย หลังจากเหล็กราคาถูกจากจีนหายไปจากตลาด
และผู้รับเหมาก็จะหันมาสั่งซื้อเหล็กในประเทศมากขึ้น

ทั้งนี้ แนวโน้มส่วนต่างราคาขายเหล็กและราคาวัตถุดิบ (เสปรด) ในช่วงไตรมาส 3/63-64 ปรับตัวลดลงมาที่ 6,700 บาท/ตัน จากไตรมาส 2/63-64 อยู่ที่ 7,000 บาท/ตัน
หลังจากราคาขายวัตถุดิบเหล็กเพิ่มสูงขึ้นแต่ราคาขายเหล็กในตลาดไม่ได้ปรับขึ้นตาม เนื่องจากมีเหล็กส่งออกจากจีนเข้ามาในปริมาณมาก ส่งผลทำให้ผู้ผลิตเหล็ก
ในภูมิภาคต้องแข่งขันด้านราคากับเหล็กจากจีน แต่บริษัทได้มีการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การขายเหล็กยังสามารถทำกำไรได้
สวนทางกับผู้ผลิตเหล็กรายอื่นๆที่ส่วนใหญ่จะขาดทุน

แรงกดดันจากเหล็กส่งออกจากจีนที่ลดลง ส่งผลบวกต่อแนวโน้มเสปรดในการขายเหล็กในช่วงไตรมาส 4/63-64 จะปรับเพิ่มขึ้น ไปตามราคาขายวัตถุดิบที่มาผลิตเหล็ก
ขณะที่ความต้องการใช้เหล็กที่เพิ่มขึ้นมาต่อเนื่อง ส่งผลบวกต่อราคาขายเหล็กที่ขยับขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อธุรกิจผู้ผลิตเหล็ก ทำให้จะมีความสามารถในการ
ทำกำไรเพิ่มขึ้น และเป็นปัจจัยหนุนให้กับกำไรของบริษัทในไตรมาสสุดท้ายของงวดปี 63/64

ด้านความคืบหน้าการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปบนหลังคาโรงงานเพื่อผลิตไฟฟ้า 10 เมกะวัตต์ งบลงทุนราว 200 ล้านบาท ภายในอีก 2 สัปดาห์บริษัทจะเซ็นสัญญา
กับผุ้ประกอบการที่มีความเชี่ยชาญในด้านพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ และหลังจากเซ็นสัญยาจะเริ่มติดตั้งในโรงงานของบริษัท ซึ่งทำให้บริษัทสามารถประหยัด
ค่าใช้จ่ายไฟฟ้าได้ลดลง

แหล่งที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)