ตะแกรงไวร์เมช คืออะไร? มือใหม่อ่านจบ เลือกซื้อได้เลย
ตะแกรงไวร์เมช คืออะไร? หากคุณกำลังมองหาวัสดุก่อสร้างที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับงานคอนกรีต
ไวร์เมช เป็นตัวเลือกที่ขาดไม่ได้ ไวร์เมชช่วยให้โครงสร้างทนทาน
และลดปัญหาการแตกร้าวในการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น อาคาร บ้านพัก ถนน หรือโรงงาน
โครงสร้างที่แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงตั้งแต่ต้น
หากเลือกวัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจส่งผลให้โครงสร้างรับน้ำหนักได้น้อย เสี่ยงต่อการแตกร้าว หรือทรุดตัวในอนาคต
ซึ่งหนึ่งในวัสดุที่ขาดไม่ได้ในงานคอนกรีตเสริมเหล็กก็คือ ตะแกรงเหล็กไวร์เมช
ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) คืออะไร?
ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) หรือที่หลายคนอาจเรียกกันว่า ไวร์เมท, ไวเมท หรือไวเมต
เป็น ตะแกรงเหล็กสำเร็จรูป ที่ถูกเชื่อมติดกันเป็นผืน มีลักษณะเป็นตารางสี่เหลี่ยม
โดยผลิตจาก ลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) ทำให้มีความแข็งแรงสูง
สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี และช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับงานคอนกรีต และทำให้งานก่อสร้างเสร็จไวขึ้น
ไวร์เมชดีอย่างไร?
✅ แข็งแรง ทนทาน รองรับน้ำหนักได้ดี
✅ ลดการแตกร้าวของคอนกรีต
✅ ประหยัดเวลาในการติดตั้งกว่าการผูกเหล็กธรรมดา
✅ ลดต้นทุนค่าแรงงาน เพราะติดตั้งง่าย
👉 อ่านเพิ่มเติม: ไวร์เมชคืออะไร? ทำไมต้องใช้ไวร์เมช?
ตะแกรงเหล็กไวร์เมชมีขนาดอะไรบ้าง?
หนึ่งในคำถามที่พบบ่อยคือ ควรใช้ไวร์เมชขนาดเท่าไหร่?
ซึ่งในท้องตลาดไวร์เมชมีให้เลือกหลากหลายขนาด ตั้งแต่ ไวร์เมช 2.8 มม. ไปจนถึง ไวร์เมช 12 มม.
ขึ้นอยู่กับประเภทของงานก่อสร้างที่ต้องการใช้งาน
ตัวอย่างขนาดตะแกรงไวร์เมชที่นิยมใช้:
🔹ไวร์เมช 4 มม. สำหรับงานพื้นบ้านพักอาศัย
🔹ไวร์เมช 6 มม. สำหรับงานถนนคอนกรีต
🔹ไวร์เมช 9 มม. สำหรับงานพื้นโรงงานที่ต้องรับน้ำหนักมาก
👉 ดูตารางขนาดตะแกรงไวร์เมชทั้งหมดได้ที่นี่: ควรใช้ไวร์เมชขนาดเท่าไหร่?
ประเภทของตะแกรงไวร์เมช และการเลือกใช้งานให้เหมาะสม
ตะแกรงไวร์เมชเป็นวัสดุก่อสร้างที่ได้รับความนิยม เนื่องจากช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างคอนกรีต ลดระยะเวลาในการทำงาน และช่วยควบคุมคุณภาพของงานก่อสร้างให้เป็นมาตรฐาน โดย ตะแกรงไวร์เมช สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ตะแกรงไวร์เมชแบบแผ่น และ ตะแกรงไวร์เมชแบบม้วน ซึ่งแต่ละประเภทมีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ตะแกรงไวร์เมชแบบแผ่น
ตะแกรงไวร์เมชแบบแผ่นเป็นแบบที่มีความแข็งแรงสูง เพราะใช้ลวดเหล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตรขึ้นไป
จึงสามารถรองรับน้ำหนักและแรงกดได้ดี เหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ เช่น
• ลานจอดรถ ภายในห้างสรรพสินค้าและอาคารสำนักงาน
• ลานสนามบิน ที่ต้องรับน้ำหนักของเครื่องบิน
• ถนนและทางเดินรถ ที่มีการสัญจรของยานพาหนะหนัก
• โกดังสินค้าและโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการฐานรากที่มั่นคง
• รางรถไฟฟ้า ที่ต้องรองรับแรงสั่นสะเทือน
ตะแกรงไวร์เมชแบบแผ่นมักถูกเลือกใช้งานเนื่องจากสามารถติดตั้งได้ง่าย ช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน
และให้ความแข็งแรงที่เหนือกว่าตะแกรงไวร์เมชแบบม้วน
2. ตะแกรงไวร์เมชแบบม้วน
ตะแกรงไวร์เมชแบบม้วนมีความยืดหยุ่นสูงกว่าและสามารถม้วนเก็บได้ง่าย จึงสะดวกต่อการขนส่งและติดตั้ง โดยทั่วไปผลิตจากลวดเหล็กที่มีขนาดเริ่มต้นตั้งแต่ 4 มิลลิเมตรขึ้นไป เหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่ไม่ได้รับน้ำหนักมาก เช่น
• งานเทพื้นบ้านเรือนทั่วไป เช่น พื้นห้องนั่งเล่น พื้นห้องครัว หรือพื้นที่ที่ไม่ได้รองรับน้ำหนักสูง
• พื้นทางเดินในสวน หรือพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน
• งานปรับปรุงต่อเติมขนาดเล็ก ที่ต้องการเสริมโครงสร้างคอนกรีต
• ตะแกรงไวร์เมชแบบม้วนช่วยลดปัญหาการขนส่งและจัดเก็บ
เพราะสามารถม้วนให้มีขนาดกะทัดรัด ประหยัดพื้นที่ และสะดวกต่อการใช้งานในไซต์ก่อสร้าง
เลือกตะแกรงไวร์เมชให้เหมาะกับงานก่อสร้าง
หากเป็นงานโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องการความแข็งแรงแนะนำให้เลือกใช้ตะแกรงไวร์เมชแบบแผ่น
หากเป็นงานก่อสร้างทั่วไปที่ไม่ได้รับน้ำหนักมาก แนะนำให้เลือกใช้ตะแกรงไวร์เมชแบบม้วน
👉 ดูข้อมูลเพิ่มเติม: ตะแกรงไวร์เมชแบบม้วน, ตะแกรงไวร์เมชแบบแผ่น
คำนวณจำนวนตะแกรงไวร์เมชที่ต้องใช้ยังไง?
ในการใช้ ตะแกรงไวร์เมช เพื่อเทคอนกรีต
หนึ่งในขั้นตอนสำคัญคือ การคำนวณปริมาณไวร์เมชที่ต้องใช้ ให้เหมาะสมกับพื้นที่จริง
เพื่อให้ประหยัดต้นทุนและลดการสูญเสียวัสดุ
สิ่งสำคัญคือต้องคำนวณปริมาณที่ใช้ให้เหมาะสม เช่น หากต้องเทพื้นคอนกรีตบ้าน โรงจอดรถ หรือถนน
ต้องรู้ว่า ตะแกรงไวร์เมชแต่ละขนาดครอบคลุมพื้นที่ได้เท่าไหร่ และ ใช้กี่แผ่น เพื่อคุมงบประมาณและลดของเสีย
สูตรคำนวณตะแกรงเหล็กไวร์เมชเบื้องต้น:
📌 วิธีคำนวณไวร์เมชง่ายๆ
1. วัดพื้นที่ที่ต้องการใช้ (กว้าง × ยาว)
2. เลือกขนาดตะแกรงที่เหมาะสม
3. ใช้สูตรคำนวณปริมาณไวร์เมช
สูตรคำนวณหาจำนวนตะแกรงเหล็กไวร์เมช:
พื้นที่หน้างาน (ตร.ม.) ÷ ขนาดไวร์เมช (ตร.ม.) = จำนวนที่ต้องใช้
📝 ตัวอย่างที่ 1:
• ต้องเทพื้นโรงจอดรถ ขนาด 10 × 25 ม. = 250 ตร.ม.
• เลือกไวร์เมชแบบม้วน ขนาด 2 × 25 ม. (50 ตร.ม./ม้วน)
👷 ต้องใช้ไวร์เมช 250 ÷ 50 = 5 ม้วน
📝 ตัวอย่างที่ 2:
• ต้องเทพื้นบ้าน ขนาด 5 × 10 ม. = 50 ตร.ม.
• เลือกไวร์เมชแบบม้วน ขนาด 2 × 25 ม. (50 ตร.ม./ม้วน)
👷 ต้องใช้ไวร์เมช 50 ÷ 50 = 1 ม้วน
👉 ดูสูตรคำนวณตะแกรงเหล็กไวร์เมชทั้งหมดได้ที่นี่: ต้องใช้ไวร์เมชเท่าไหร่?
วิธีเลือกซื้อตะแกรงไวร์เมชให้ได้ของดี คุ้มค่า
การเลือกซื้อตะแกรงไวร์เมชไม่ใช่แค่ดูราคาถูกที่สุด แต่ต้องคำนึงถึงคุณภาพของวัสดุ และมาตรฐานที่ได้รับการรับรอง
เช่น ไวร์เมช มอก. ซึ่งเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้มั่นใจว่าไวร์เมชมีความแข็งแรงและปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้าง
เคล็บลับการเลือกไวร์เมชให้ได้ของดี
✔ เลือกไวร์เมชที่ผ่านมาตรฐาน มอก. เพื่อความแข็งแรงและปลอดภัย
✔ เลือกลวดเหล็กรีดเย็นแท้ เพื่อให้ทนทานและรับแรงดึงได้ดี
✔ ตรวจสอบรอยเชื่อมของตะแกรง ควรมีการเชื่อมต่อแน่น ไม่หลุดง่าย
✔ เลือกขนาดให้ เหมาะกับงานที่ต้องใช้
เช่น ไวร์เมช 4 มม. เหมาะสำหรับพื้นบ้านพักอาศัย
แต่ ไวร์เมช 6 มม. อาจเหมาะสำหรับงานที่รับน้ำหนักมากกว่า
✔ ตรวจสอบ เหล็กใหม่ ไม่เป็นสนิม
👉 เช็คลิสต์เลือกซื้อไวร์เมชให้คุ้มค่า: วิธีเลือกซื้อไวร์เมชให้ได้ของดี คุ้มค่า
💙 หากคุณกำลังมองหาตะแกรงไวร์เมชคุณภาพสูง ที่ได้มาตรฐาน มอก. เลือก WMI Group