fbpx

Admin2

Block

WMIGROUP

กลุ่มโรงงานผู้ผลิต

ตะแกรงไวร์เมช WMIMesh

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช
ตะแกรงเหล็กไวร์เมช

WMIGROUP

กลุ่มโรงงานผู้ผลิต

ตะแกรงไวร์เมชWMIMesh

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช

WMIGROUP

กลุ่มโรงงานผู้ผลิต

ตะแกรงไวร์เมชWMIMesh

วัตถุดิบคุณภาพไวร์เมช
วัตถุดิบคุณภาพ
WMIGROUP คัดสรรแหล่งวัตถุดิบ
ที่ได้คุณภาพเพื่อตะแกรงไวร์เมชWMIMesh
ที่มีคุณภาพที่ดีและได้มาตรฐาน มอก.
โรงงานครอบคลุมทั่วประเทศ
โรงงานผลิต 5 สาขา
WMIGROUP มีโรงงานการผลิต
ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย
มาตรฐานคุณภาพดี ตะแกรงไวร์เมช
คุณภาพได้มาตรฐานทุกตารางเมตร
ในขั้นตอนการผลิตทุกขั้นตอน WMIGroup เราใส่ใจในคุณภาพมาตรฐานของ มอก.
วัตถุดิบคุณภาพไวร์เมช
วัตถุดิบคุณภาพ
WMIGROUP คัดสรรแหล่งวัตถุดิบ
ที่ได้คุณภาพเพื่อตะแกรงไวร์เมชWMIMesh
ที่มีคุณภาพที่ดีและได้มาตรฐาน มอก.
โรงงานครอบคลุมทั่วประเทศ
โรงงานผลิต 5 สาขา
WMIGROUP มีโรงงานการผลิต
ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย
มาตรฐานคุณภาพดี ตะแกรงไวร์เมช
คุณภาพได้มาตรฐานทุกตารางเมตร
ในขั้นตอนการผลิตทุกขั้นตอน WMIGroup เราใส่ใจในคุณภาพมาตรฐานของ มอก.

ครบเครื่อง เรื่องไวร์เมช คุณภาพดี (5)
ไวร์เมช ราคา
ทีมงาน WMIGROUP
ไวร์เมช วายเมท ราคาถูก
พนักงานฝ่ายผลิตไวร์เมช แบรนด์ WMIMesh
ไวร์เมชเสริมคอนกรีต คุณภาพดี ราคาถูก พร้อมส่ง
ไวร์เมช วายเมท เสริมคอนกรีต (wiremesh) แบรนด์ WMImesh คุณภาพมาตราฐาน บริการดีเยี่ยม จัดส่งทั่วประเทศ ตะแกรงเหล็กไวร์เมช
ไวร์เมชข้ออ้อย
slide-1
Wiremesh for concrete WMIMesh Brand
WMIGROUP TEAM
Wiremesh for concrete WMIMesh Brand
Production worker WMIMesh brand
Wiremesh for concrete WMIMesh Brand
QC Wiremesh WMI inspection
Wiremesh for concrete WMIMesh Brand
previous arrow
next arrow
Shadow

ขอใบเสนอราคา


เรามุ่งมั่นพัฒนา และรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ของเราทั้งหมด
ให้ได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม จึงมั่นใจได้ว่าลูกค้า
จะได้รับแต่สินค้าที่มีคุณภาพตรงตามที่กำหนดทุกประการแน่นอน
เราเชื่อมั่นว่าจะแกรงเหล็กไวร์เมชของเรามีคุณภาพตามมาตรฐานอุตสาหกรรมที่กำหนด

23 ธันวาคม 2023

เหล็กลวดไวร์รอท คืออะไร?

25 มกราคม 2023
เหล็กเส้น (rebar) และบิลเล็ต (billets) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นจากข้อเสนอขายและการเสนอราคาซื้อที่สูงขึ้น

ข่าวสารปี66 เหล็กเส้น (rebar) และบิลเล็ต (billets)

เหล็กเส้น (rebar) และบิลเล็ต (billets) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นจากข้อเสนอขายและการเสนอราคาซื้อที่สูงขึ้น Update : 10 มกราคม 2566
ในวันที่ 9 มกราคม ราคาเหล็กเส้น (rebar) และบิลเล็ต (billet) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรับตัวสูงขึ้นตามข้อเสนอขายและระดับการเสนอราคาซื้อที่สูงขึ้น โดยผู้เข้าร่วมตลาดอ้างว่าต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้าส่งออกสูงขึ้น เหล็กเส้นในตลาด seaborne โรงงานแห่งหนึ่งของจีน ได้เพิ่มข้อเสนอขายในการส่งออกเหล็กเส้นเป็น $620/ตัน FOB เพิ่มขึ้นจาก $605/ตัน FOB ในช่วงสิ้นสุดสัปดาห์วันที่ 6 ม.ค. เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเงินหยวนของจีน นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอขายเหล็กเส้นของมาเลเซียที่ราคา $630/ตัน CFR สิงคโปร์ “ข้อเสนอขายอยู่ที่ $630/ตัน CFR สิงคโปร์และสูงกว่านั้น” ผู้ผลิตเหล็กเส้นรายหนึ่งในสิงคโปร์กล่าว โดยอ้างถึงระดับที่ซื้อขายได้ของเขาอยู่ที่ราคา $520-$525/ตัน CFR สิงคโปร์ สำหรับการนำเข้าเหล็กเส้น ในฮ่องกง ตลาดถูกมองว่าเป็นขาขึ้น แต่แหล่งข่าวจากผู้สต็อคสินค้าระบุว่า “ยังมีผู้ซื้อไม่มากนักที่สามารถยอมรับราคาใหม่ได้ สถานการณ์ของตลาดมีหลายอารมณ์ผสมปนเปกัน” เมื่อวันที่ 9 ม.ค. Platts ประเมินราคาเหล็กเส้น BS4449 เกรด 500 ขนาด 16-32 มม. ที่ราคา $621/ตัน CFR เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ราคาเพิ่มขึ้น $7/ตัน จากการปิดตลาดครั้งก่อน เหล็กเส้นเกรด BS500B สำหรับส่งออกของจีน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16-20 มม. ได้รับการประเมินที่ราคา $611 /ตัน FOB ของจีน ราคาไม่เปลี่ยนแปลงเทียบจากในช่วงเวลาเดียวกัน ราคาสปอตภายในประเทศที่ปักกิ่ง ของเหล็กเส้น HRB400 ขนาด 18-25 มม. ได้รับการประเมินที่ราคา 4,113 หยวน/ตัน ex-stock ตามน้ำหนักจริง (actual weight) รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 13% ราคาเพิ่มขึ้น 10 หยวน/ตัน จากในวันก่อน อย่างไรก็ตาม ราคาบิลเล็ตมีความผันผวน โดยในตลาด seaborne เพิ่มขึ้น ในขณะที่ตลาดบิลเล็ตในประเทศที่ Tangshan มีราคาลดลง ได้ยินข้อเสนอขาย สำหรับบิลเล็ต 5SP ขนาด 130 มม. ของอินโดนีเซีย อยู่ที่ราคา $570/ตัน FOB อินโดนีเซีย ซึ่งเท่ากับ $590-$595/ตัน CFR มะนิลา ราคาเสนอซื้ออยู่ที่ $565/ตัน CFR มะนิลา สำหรับ     บิลเล็ตขนาดและเกรดเดียวกัน “การเสนอราคาซื้อจากมะนิลายังคงล้าหลัง มีราคาอยู่ที่ $565/ตัน CFR มะนิลา จะไม่สร้างแรงจูงใจให้ผู้ค้าขาย” ผู้ค้าในสิงคโปร์กล่าว มีรายงานว่าข้อตกลงซื้อขายที่ได้ข้อสรุปในวันที่ 6 มกราคม สำหรับบิลเล็ต 3SP จากเตาเหนี่ยวนำไฟฟ้า (induction furnace) ของมาเลเซีย มีราคาที่ $555/ตัน CFR มะนิลา “ราคาค่อนข้างต่ำ และค่อนไปทางฝั่งระดับราคาเสนอซื้อ” ราคาของบิลเล็ต 5SP ขนาด130 มม.  จัดส่ง CFR เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับการประเมินที่ราคา $567/ตัน เพิ่มขึ้น $2/ตัน จากการปิดตลาดครั้งก่อน ในขณะเดียวกัน การราคาสปอตนำเข้าบิลเล็ต 3SP ขนาด 150 มม. ของจีน เพิ่มขึ้น $1//ตัน มีราคาเป็น $495/ตัน CFR ประเทศจีน ในขณะที่การประเมินของ Platts สำหรับบิลเล็ต Q235 Tangshan ราคาลดลง 20 หยวน/ตัน มีราคาเป็น 3,850 หยวน/ตัน ในช่วงเวลาเดียวกัน ในวันที่ 9 มกราคม สัญญาซื้อขายเหล็กเส้นที่มีการซื้อขายมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2023 ที่ Shanghai Futures Exchange ปิดที่ 4,093 หยวน/ตัน ลดลง 14 หยวน/ตัน ในช่วงเซสชั่นการซื้อขาย แหล่งที่มา : S&P Global Commodity Insights. #ตะแกรงเหล็กไวร์เมท #ตะแกรงเหล็ก #โรงงานผลิตไวร์เมท #ไวเมช #ไวเมท #ไวร์เมท #วายเมท #วายเมช #เทปูน #เทคอนกรีต
25 มกราคม 2023
วิบากกรรม“เหล็กแผ่นเคลือบ”

ข่าวสาร66 วิบากกรรม“เหล็กแผ่นเคลือบ”

วิบากกรรม“เหล็กแผ่นเคลือบ” 6 ปีนำเข้าพุ่ง รัฐเหลว-จีนดัมพ์ราคา Update : 15 มกราคม 2566 อุตสาหกรรมเหล็กของไทยเผชิญวิบากกรรมวนเวียนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแข่งขันที่มาในรูปแบบต่างๆ ของการนำเข้า ล่าสุด นายพงศ์เทพ เทพบางจาก รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายกสมาคมผู้ผลิตเหล็กเคลือบสังกะสี ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงปัญหาที่สะสมมานานของผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีในประเทศไทย ที่เขามองว่าเป็นตัวอย่างที่แฝงความล้มเหลวในหลากหลายมิติ ภาพรวมเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ภาพรวม “เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี” เติบโตดีมาอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นตัวอย่างที่แฝงความล้มเหลวในหลายมิติของอุตสาหกรรมเหล็กไทย มีเหตุผลจากการนำสินค้าชนิดนี้เข้าไปใช้ทดแทนเหล็กหรือสินค้าอื่น ๆ ในหลากหลายลักษณะการใช้งาน เช่น การนำไปใช้ทดแทนเหล็กแผ่นรีดร้อนสำหรับงานโครงสร้าง ที่ช่วยลดระยะเวลาในการทำงานลงไปได้มากเพราะไม่ต้องมาเชื่อมเหล็ก หรือทาสีรองพื้นกันสนิม การใช้ทดแทนงานหลังคาในวัสดุเดิม เช่น กระเบื้อง จนเป็นที่นิยมในปัจจุบัน และเรียกกันติดปากว่า “เมทัลชีท” รวมไปถึงการใช้ในงานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ และในอุตสาหกรรมรถยนต์ สรุปได้ไม่เกินจริงว่าเหล็กชนิดนี้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันหากให้ประเมินปริมาณการบริโภคที่นับจากการผลิตในประเทศ รวมกับการนำเข้าและหักการส่งออกแล้ว การบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีของไทยจะมีค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 2 ล้านตัน แต่เมื่อหักการบริโภคในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ออก จะเหลือค่าเฉลี่ยของการบริโภคเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1-1.5 ล้านตัน ขึ้นอยู่กับราคานำเข้าจูงใจให้สั่งเข้ามาสต๊อกไว้หรือไม่ เพราะกำลังการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีในประเทศอยู่ที่ระดับ 1 ล้านตันเช่นกัน อย่างไรก็ดีเวลานี้ผู้ผลิตในประเทศใช้กำลังผลิตเพียง 20-30 % ของกำลังผลิตที่มีทั้งหมดเท่านั้น ที่เหลือ 70-80% ของส่วนแบ่งการตลาดล้วนเป็นสินค้านำเข้า โดยเฉพาะการนำเข้าจากประเทศจีน ที่มีอิทธิพลต่อการผลิตและการกำหนดราคาในตลาดสูงมาก สังเกตได้จากตัวเลขนำเข้าจากประเทศจีนตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ถึง ไตรมาส 3 ของปี 2565 เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดี (กราฟิกประกอบ) อ่านต่อได้ที่ : ฐานเศรษฐกิจ #ตะแกรงเหล็กไวร์เมท #ตะแกรงเหล็ก #โรงงานผลิตไวร์เมท #ไวเมช #ไวเมท #ไวร์เมท #วายเมท #วายเมช #เทปูน #เทคอนกรีต
24 ธันวาคม 2022
การส่งออกเหล็กแผ่นรีดร้อน (hot-rolled coil : HRC)

ข่าวสาร65

เดือน ต.ค. ส่งออก HRC ตกต่ำตาม อุปสงค์ของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ Update : 09 ธันวาคม 2565 ในเดือนตุลาคม การส่งออกเหล็กแผ่นรีดร้อน (hot-rolled coil : HRC) ของตุรกีลดลง 43% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สู่ระดับต่ำสุดภายในปีนี้ ที่ 166,250 ตัน เนื่องจากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาลดลงอย่างมาก ท่ามกลางความต้องการที่ต่ำ ข้อมูลล่าสุดของ Turkish Statistical Institute ที่ให้ข้อมูลกับ S&P Global Commodity Insights แม้จะลดลง 59% แต่อิตาลียังคงเป็นปลายทางการส่งออกหลักของตุรกี ที่มีปริมาณ 27,400 ตันในขณะที่การส่งออกไปยังสเปนลดลง 93% มีปริมาณ 4,400 ตัน การส่งออกไปยังกรีซเพิ่มขึ้น 17% ที่ปริมาณ 21,400 ตัน ขณะที่การส่งออกไปยังบัลแกเรียอยู่ที่ 18,500 ตัน การส่งออกไปยังประเทศในสหภาพยุโรปอื่น ๆ ยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปีก่อน ท่ามกลางภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดของเหล็กแผ่นรีดร้อนที่มาจากตุรกี โดยเรื่องของโควต้าเหล็กก็ยังมีอยู่ และท่ามกลาง     อุปสงค์ที่ลดลงในภูมิภาค โรงงานในตุรกีได้ส่งออกเหล็กแผ่นรีดร้อนไปยังแคนาดา 11,000 ตัน ลดลง 39% เทียบจากปีก่อน ตามข้อมูลของ TUIK มีเหล็กแผ่นรีดร้อนเพียง 1,200 ตัน ที่ถูกจัดส่งไปยังสหรัฐอเมริกาในเดือนตุลาคม จากจำนวน 51,100 ตัน ที่ถูกส่งไปเมื่อปีที่แล้ว ผู้ผลิตในตุรกีเผชิญกับแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง จากต้นทุนพลังงานและราคาเศษเหล็กที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการที่ต่ำ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม เหล็กแผ่นรีดร้อนที่ตุรกีส่งออกได้รับการประเมิน อยู่ $625/ตัน FOB ลดลงประมาณ $600/ตัน เมื่อเทียบกับราคากลางเดือนมีนาคม เป็นการประเมินโดย Platts ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ S&P Global แหล่งที่มา : S&P Global Commodity Insights
24 ธันวาคม 2022
ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม 2022 การนำเข้าเหล็กกล้าไร้สนิมของจีน มีจำนวนทั้งสิ้น 2.7566 ล้านตัน และส่งออกทั้งสิ้น 3.7599 ล้านตัน

ข่าวสาร65

การนำเข้าและส่งออก เหล็กกล้าไร้สนิมของจีน ตั้งแต่เดือนมกราคม-เดือนตุลาคม Update : 15 ธันวาคม 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม 2022 การนำเข้าเหล็กกล้าไร้สนิมของจีน มีจำนวนทั้งสิ้น 2.7566 ล้านตัน และส่งออกทั้งสิ้น 3.7599 ล้านตัน ในเดือนตุลาคม 2022 การนำเข้าเหล็กกล้าไร้สนิมทั้งหมดของจีนอยู่ที่ 310,900 ตัน เพิ่มขึ้น 38,700 ตัน หรือ 14.23%  เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 48,600 ตัน มีอัตราการเติบโต 18.53% ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2022 การนำเข้าเหล็กกล้าไร้สนิมทั้งหมดของจีนอยู่ที่ 2.7566 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 337,400 ตัน โดยมีอัตราการเติบโตที่ 13.95% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน ในเดือนตุลาคม 2022 การนำเข้าเหล็กกล้าไร้สนิมทั้งหมดของจีนจากอินโดนีเซียอยู่ที่ 272,000 ตัน เพิ่มขึ้น 37,200 ตัน โดยเพิ่มขึ้น 15.84% เทียบจากเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น 57,600 ตัน ขยายตัว 26.87% ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2022 จีนนำเข้าเหล็กกล้าไร้สนิมจากอินโดนีเซียทั้งหมด 2.3384 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 501,700 ตัน หรือ 27.32% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในเดือนตุลาคม 2022 การส่งออกเหล็กกล้าไร้สนิมของจีนจะอยู่ที่ 295,800 ตัน เพิ่มขึ้น 14,900 ตันหรือ 5.31% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน  และลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 22,200 ตัน หรือ 6.99% ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2022 ปริมาณการส่งออกเหล็กกล้าไร้สนิมทั้งหมดของจีน สูงถึง 3.7599 ล้านตัน โดยเพิ่มขึ้น 136,100 ตันหรือ 3.75% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในเดือนตุลาคม 2022 การนำเข้าเหล็กกล้าไร้สนิมสุทธิของจีนอยู่ที่ 15,100 ตัน ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2022 ยอดส่งออกเหล็กกล้าไร้สนิมสุทธิของจีนอยู่ที่ 1.0033 ล้านตัน ลดลง 20.14 ล้านตัน หรือ 16.72% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แหล่งที่มา : Steelhome, CISA.https://iiu.isit.or.th/th/news/Iron%20Industry%20News/Content-5932.aspx  
24 ธันวาคม 2022
อัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงถลุงเหล็กดิบของสหรัฐฯ ลดลงในช่วงสิ้นสุดสัปดาห์ในวันที่ 26 พ.ย. โดยสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งอเมริกา (American Iron and Steel Institute : AISI)

ข่าวสาร65

อัตราการใช้กำลังการผลิตเหล็กของสหรัฐลดลงต่ำกว่า 73.0%: AISI Update : 29 พฤศจิกายน 2565        อัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงถลุงเหล็กดิบของสหรัฐฯ ลดลงในช่วงสิ้นสุดสัปดาห์ในวันที่ 26 พ.ย. โดยสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งอเมริกา (American Iron and Steel Institute : AISI) รายงานเมื่อวันที่ 28 พ.ย. การผลิตเหล็กดิบ (Raw steel) อยู่ที่ 72.8% ลดลงจาก 73.0% ในสัปดาห์ก่อน การผลิตในระหว่างสัปดาห์มีจำนวนทั้งสิ้น 1.625 ล้านตัน ลดลง 0.2% จากช่วงสิ้นสุดสัปดาห์ในวันที่ 19 พ.ย. ซึ่งมีการผลิตอยู่ที่ 1.628 ล้านตัน การผลิตลดลง 11.1% จากสัปดาห์เดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 82.8% และมีการผลิตรวมอยู่ที่ 1.828 ล้านตัน การผลิตประจำปีสะสมจนถึงวันที่ 26 พ.ย. มีจำนวนทั้งสิ้น 81.245 ล้านตัน โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 78.5% นั่นคือลดลง 5.2% จาก 85.705 ล้านตัน ที่ผลิตในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีการใช้เมื่ออัตราการผลิตอยู่ที่ 81.3%           หากแบ่งย่อยตามพื้นที่ของ AISI ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการผลิตทั้งหมด 143,000 ตัน ในภูมิภาคเกรตเลกส์ (Great Lakes region) มีการผลิต 533,000 ตัน ใน Midwest มีการผลิต 187,000 ตัน ในเขตทางตอนใต้มีการผลิต 690,000 และในภูมิภาคตะวันตก มีการผลิต 72,000 ตัน  
24 ธันวาคม 2022

ข่าวสาร65

จีนลดผลิตเหล็กในพ.ย. เหตุดีมานด์ทรุดจากซีโร่โควิด-วิกฤตตลาดอสังหาฯ Update : 15 ธันวาคม 2565    
8 ธันวาคม 2021

ส่งออกไทยปี64 เอกชนมั่นใจโต15% จับตาไวรัสโอไมครอนระบาดทั่วโลก Update : 7 ธันวาคม 2564    
17 พฤศจิกายน 2021
ไวร์เมชเสริมคอนกรีต (wiremesh) แบรนด์ WMImesh คุณภาพมาตราฐาน บริการดีเยี่ยม ตะแกรงเหล็กไวร์เมช

สหรัฐเล็งผ่อนปรนภาษีนำเข้าเหล็ก

สหรัฐเล็งผ่อนปรนภาษีนำเข้าเหล็ก-อลูมิเนียมญี่ปุ่นหวังเริ่มต้นสัมพันธ์การค้าใหม่ Update : 15 พฤศจิกายน 2564WMI NEWS ตะแกรงเหล็กไวร์เมช   คณะบริหารภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐกำลังพิจารณาเรื่องการผ่อนคลายมาตรการภาษีนำเข้าเหล็กกล้าและอลูมิเนียมจากญี่ปุ่น
ภายใต้มาตรการครั้งล่าสุดในการเริ่มต้นความสัมพันธ์ทางการค้าใหม่กับบรรดาชาติพันธมิตรของสหรัฐ
เว็บไซต์มาร์เก็ตวอทช์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า คาดว่าคณะบริหารของสหรัฐจะประกาศแผนเริ่มต้นการเจรจากับญี่ปุ่นเกี่ยวกับการผ่อนปรนภาษีในวันศุกร์นี้ (19 พ.ย.)
โดยตั้งเป้ากำหนดข้อตกลงเพื่ออนุญาตให้สามารถนำเข้าโลหะบางส่วนของญี่ปุ่นสู่สหรัฐได้แบบปลอดภาษี
สำหรับการตัดสินใจดังกล่าวนั้นมีขึ้นหลังคณะบริหารสหรัฐทำข้อตกลงกับสหภาพยุโรป (EU) ในการผ่อนปรนภาษีนำเข้าเหล็กกล้าและอลูมิเนียมยุโรป
เมื่อช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการขจัดความขัดแย้งอันยาวนานระหว่างสองฝ่าย อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เป็นผู้กำหนดมาตรการภาษีดังกล่าว โดยเขาระบุว่าต้องการปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและอลูมิเนียมของสหรัฐไม่ให้ได้รับผลกระทบ
จากการนำเข้า แหล่งที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
15 พฤศจิกายน 2021
รถเทเลอร์ ขน ไวร์เมช วายเมท (Wiremesh) แบรนด์ WMIMesh

“วินท์ สุธีรชัย” กับเส้นทางความสำเร็จในฐานะ “นักบริหารรุ่นใหม่”

“วินท์ สุธีรชัย” กับเส้นทางความสำเร็จในฐานะ “นักบริหารรุ่นใหม่” Update : 9 พฤศจิกายน 2564    
15 พฤศจิกายน 2021
ไวเมช

จับตาราคาเหล็กปี 65 อุตสาหกรรมโต ดีมานต์เพิ่ม ดันราคาสูง

จับตาราคาเหล็กปี 65 อุตสาหกรรมโต ดีมานต์เพิ่ม ดันราคาสูง ไวเมช Update : 7 พฤศจิกายน 2564 อุตสาหกรรมเหล็กไทย ปี 65 ความต้องการใช้โตแตะ 20 ล้านตัน อัดฉีดลงทุนรัฐ อัตราฉีดวัคซีนหนุน ปรับตัวกับภาวะโรคระบาด เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องคาดภาคเอกชนลงทุนเพิ่ม อุตสาหกรรมเหล็กเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ สะพาน ทางหลวง ก่อสร้าง พลังงาน บรรจุภัณฑ์ และเสาส่งสัญญาณสาธารณูปโภค
จึงเป็นที่น่าจับตาสถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กโลกและไทยช่วงปลายปีนี้รวมถึงสถานการณ์ในปี 2565 ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันโลกที่พุ่งสูงจะเป็นอย่างไรบ้าง
นายนาวา จันทนสุรคน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “กรุงเทพธุรกิจ” ว่าความต้องการเหล็กในปี 2564
ภาพรวมดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 15% อยู่ที่ 18.9 ล้านตัน โดยคาดว่าปี 2565 จะโตเพิ่มอีก 5% ทำให้ความต้องการใช้เหล็กในไทยใกล้เคียง 20 ล้านตัน ทั้งนี้ มีปัจจัยด้านบวกที่ชัดเจนคือการลงทุนเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานโดยภาครัฐ อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นนโยบายที่นานาประเทศต่างก็หยิกยกขึ้นมาใช้
เพื่อเร่งอัดฉีดการเติบโตของเศรษฐกิจ รวมถึงภาคเอกชนที่ฟื้นตัวต่อเนื่องเมื่อสามารถปรับตัวกับภาวะโรคระบาดใหญ่ของโควิด-19 ประชากรในประเทศมีอัตรา
การฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าภาคธุรกิจท่องเที่ยว และภาคบริการจะฟื้นตัวได้ดี และส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม หลังสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ภาคธุรกิจหลายแห่งบาดเจ็บหนัก ส่งผลให้มีปัจจัยเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก
เมื่อคู่ค้าไม่สามารถชำระเงินตามที่ตกลงไว้ได้ นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าการซื้อขายระหว่างประเทศจะเปลี่ยนไป ด้วยผลจากต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้นและเส้นทางเดินเรือที่อาจมีข้อจำกัดเรื่องโรคระบาดจึงส่งผลให้
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความพร้อมในปีหน้าสำหรับข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่จะถูกยกมาใช้เป็นกำแพงทางการค้า รวมถึงการขนส่งทางรางที่กำลัง
กลายเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคการผลิตในไทยยังเติบโตได้ แต่ติดปัญหาอุปทานตึงตัว ทำให้ไม่สามารถผลิตได้
เท่าความต้องการในตลาด และการที่สินค้าต้นน้ำมีการปรับราคาขึ้น ทำให้ไทยที่เป็นผู้ผลิตอุตสาหกรรมกลางน้ำ จำเป็นต้องปรับราคาขึ้นตาม
สถานการณ์เศรษฐกิจโลก
จากสรุปภาวะเศรษฐกิจไทยรายเดือนของเดือนตุลาคม โดยสมาคมธนาคารไทย คาดการณ์ว่าปัญหาอุปทานขาดแคลนชิ้นส่วนสำคัญในภาคการผลิต ความล่าช้า
ในการขนส่ง รวมถึงค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติจะยังไม่คลี่คลายในปีนี้ จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีทิศทางชะลอลงเล็กน้อย
โดยมีผลกระทบต่อประเทศไทยที่เห็นได้ชัดคือดัชนีราคาผู้ผลิตที่พุ่งสูงขึ้น กดดันกำไรของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามความต้องการจากต่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง
คาดว่าจะช่วยให้การส่งออกไทยยังสามารถรักษาระดับได้
ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในระยะหลังจะแผ่วลงบ้างจากปัญหาอุปทานขาดแคลนที่ยืดเยื้อ และต้นทุนวัตถุดิบราคาแพง ซึ่งในปีนี้
พบว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญในตลาดโลกพุ่งขึ้นมาแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปี หลังจากถึงจุดสูงสุดแล้วทำให้นักเคราะห์มองว่าราคามีแนวโน้มลดลงในปีถัดไป
โดยแร่เหล็ก (Iron Ore) มีราคาสูงสุดที่ 202.9 ดอลลาร์/ตัน ในเดือน พ.ค. 2564 ซึ่งมีแนวโน้มลดลง คาดการณ์ว่าราคาจะลดลงถึง 98.5 ดอลลาร์/ตัน ในไตรมาส 3 ปี 2565 ต้นทุนขนส่งแพง
อีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาเหล็กคือต้นทุนการขนส่ง ซึ่งค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งทางทะเลและทางอากาศมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง โดยสำนักวิจัย
ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจเดินเรือ Drewry เชื่อว่าค่าขนส่งทางเรือจะอยู่ในระดับสูงจนถึงปี 2565 ก่อนปรับตัวลดลงในปีถัดไป โดยให้เหตุผลว่าว่าค่าขนส่งทางเรือสูงขึ้น
จากอุปทานที่มีน้อยกว่าอุปสงค์มาก ในขณะที่ค่าขนส่งทางอากาศมีการปรับตัวสูงขึ้นจากอุปสงค์ที่เติบโตได้ดี จากการขนส่งสินค้าประเภท อิเล็กทรอนิกส์ ยา
และอุปกรณ์การแพทย์
อย่างไรก็ตามบางสำนักวิจัยอย่าง JP Morgan มีความเห็นแย้งว่าค่าขนส่งในปัจจุบันได้แตะจุดสูงสุดแล้วและมีแนวโน้มลดลง เพราะหากค่าขนส่งสูงเป็นระยะเวลายาว
จะส่งผลต่อราคาสินค้า ซึ่งจะทำให้อุปสงค์ชะลอตัวไปด้วย ราคาแตะ All Time High แล้ว
นอกจากนี้ ได้คาดการณ์ว่าราคาเหล็กนำเข้าเฉลี่ยช่วงครึ่งแรกของปี 2565 จะยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับราคา 735 ดอลลาร์/ตัน
ปรับตัวลดลง 5% จากปี 2564 ด้วยปัจจัยกดดันจากอุปสงค์ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนและราคาวัตถุดิบแร่เหล็กที่คาดว่าจะปรับลดลง 20% รายงานอุตฯเหล็กเดือนกันยายน
ยอดการผลิตเหล็กดิบของโลกในเดือนกันยายน 2564 อยู่ที่ 144.4 ล้านตัน หดตัว 8.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกอย่างจีน
ปรับลดการผลิตลงถึง 21.2% จากมาตรการการลดกำลังการผลิตและการใช้พลังงานในประเทศเพื่อรักษาเป้าหมายการรักษาสภาพภูมิอากาศลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะผลิตเหล็กดิบไม่เกินยอดของปีก่อนเป็นอย่างน้อย ในขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ ได้แก่ แอฟริกา อียู ยุโรปและอื่นๆ อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้
มีการผลิตเหล็กดิบที่ขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยในภาพรวมการผลิตเหล็กดิบ 9 เดือนสะสมปีนี้ มีการขยายตัวขึ้น 7.8% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อยู่ที่ 1,461 ล้านตัน แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ในหลายภูมิภาคทั่วโลกที่ยังคงฟื้นตัวได้
สำหรับประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 มีปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กสำเร็จรูป 1.42 ล้านตัน ขยายตัวขึ้น 20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวปรับตัวลดลงเนื่องจากภาคการก่อสร้างยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และเป็นช่วงฤดูฝนที่การก่อสร้างชะลดตัว ในขณะที่ความต้องการเหล็ก
ทรงแบนขยายตัวได้ดี เมื่อภาคการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องมีการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กฟื้นตัวได้ดี อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้ผลิตขอปรับขึ้นราคา
รวมถึงวันที่ 1 พ.ย. 64 ที่ผ่านมาผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ในประเทศอินเดียได้ประกาศปรับราคาเหล็กแผ่นรีดร้อน (HRC) ขึ้น 47 ดอลลาร์/ตัน เมื่อต้นทุนเงินเฟ้อสูงขึ้น
จากราคาถ่านหินที่เพิ่มขึ้น โดยมีความเห็นว่า “เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องขึ้นราคา เพราะต้นทุนเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น จากราคาพลังงานเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นถึง 70%
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ราคาแร่เหล็กในตลาดโลกปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ผู้ผลิตรายอื่นในตลาดเองก็เริ่มปรับราคาขึ้นเช่นกัน” นายนาวา กล่าวว่า ในปัจจุบันต้นทุนราคาเหล็กได้รับผลกระทบจากราคาค่าขนส่งที่แพงขึ้น แต่คาดว่าค่าขนส่งจะแตะเพดานราคาตามที่รัฐมีมาตรการอุ้มราคาน้ำมัน
ทำให้ค่าขนส่งจะทรงตัว อย่างไรก็ตามมองว่าราคาเหล็กเป็นไปตามปริมาณความต้องการในตลาดทั่วโลก โดยคาดว่าราคาเหล็กในไทยในปีหน้าจะปรับตัวขึ้นลง
อยู่ใกล้ราคาในปลายปีนี้ แต่จะไม่ต่ำลงถึงราคาปีก่อนหน้า แหล่งที่มา : www.bangkokbiznews.com  
30 ตุลาคม 2021
ไวร์เมช วายเมท เสริมคอนกรีต (wiremesh) แบรนด์ WMImesh คุณภาพมาตราฐาน บริการดีเยี่ยม จัดส่งทั่วประเทศ รับเหมา

TSTH คาดผลงาน H2 งวดปี 64/65 โตต่อเนื่อง จากราคาเหล็กสูงตามดีมานด์ฟื้น

TSTH คาดผลงาน H2 งวดปี 64/65 โตต่อเนื่อง จากราคาเหล็กสูงตามดีมานด์ฟื้น Update : 20 ตุลาคม 2564 รับเหมา   นายราจีฟ มังกัล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทาทา สตีล (ประเทศไทย) (TSTH) เปิดเผยว่า บริษัทฯ คาดผลการดำเนินงานในครึ่งปีหลังของงวดปี 64/ 65
(ต.ค.64 ถึง มี.ค.65) จะเติบโตต่อเนื่องจากครึ่งปีแรกที่ผ่านมา (เม.ย.-ก.ย.64) ที่อยู่ที่ 672,000 ตัน หลังราคาเหล็กอยู่ในระดับสูง โดยคาดราคาเหล็กจะปรับตัว
ขึ้นมากกว่า 25,000 บาท/ตัน จากเดือนก.ย.ที่ผ่านมา มาจากความต้องการที่ฟื้นตัวขึ้น โดยเฉพาะภายหลังจากปริมาณน้ำที่ลดลง ก็น่าจะเห็นการซ่อมแซม ปรับปรุง
อาคารบ้านเรือนในช่วงปลายเดือนต.ค.นี้ ทำให้ส่งผลดีต่อความต้องการใช้เหล็ก ประกอบกับภาครัฐก็มีการลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้มองเป็นสัญญาณ
เชิงบวกในแง่ของการจับจ่ายใช้สอยภาคครัวเรือน และยังเป็นSentiment เชิงบวกต่อภาคเอกชน ที่จะเกิดการลงทุนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจของบริษัทดีขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งบริษัทฯ ได้มีการส่งออกเหล็กไปยังประเทศแคนาดาเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนเม.ย.64 โดยมีปริมาณการส่งออกสินค้ารอบแรกที่ 6,500 ตัน ส่งผลให้ปริมาณ
การส่งออกครึ่งปีแรก โดยรวมอยู่ที่ 81,000 ตัน หรือคิดเป็น 12% ของปริมาณการขายทั้งหมด ขณะเดียวกันบริษัทฯ ก็ได้รับคำสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มอีก โดยรอบที่สอง
จะอยู่ที่ 15,000 ตัน คาดว่าจะส่งมอบได้ในเดือนพ.ย.นี้ และน่าจะทำให้ทั้งปีจะมีสัดส่วนปริมาณการขายจากการส่งออกอยู่ที่ 9-10% นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบวกจากจีน ที่มีการประกาศลดกำลังการผลิตเหล็กในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่พ.ย.64 ถึงมี.ค.65 เพื่อล้างท้องฟ้าที่ปกคลุมไปด้วยหมอกควันในภูมิภาค
และเพื่อบรรลุผลสำเร็จของเป้าหมายการลดกำลังการผลิตเหล็กของประเทศ แต่อย่างไรก็ตามในครึ่งปีหลังนี้ TSTH ก็ยังมีความท้าทายจากต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวขึ้น และความต้องการ Material อื่นๆ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง หลังจากจีนลดกำลัง
การผลิตเหล็ก ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กก็มีการปรับลดการใช้ Material ลงไปด้วย นายราจีฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ยังคงมั่นใจปริมาณการขายเหล็ก งวดปี 64/65 จะเติบโตกว่าปีก่อนที่ทำได้ 1.3 ล้านตัน จากครึ่งปีแรกทำได้แล้ว 672,000 ตัน และเชื่อว่า
ครึ่งปีหลังจะทำได้ดีต่อเนื่อง จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น แหล่งที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
30 ตุลาคม 2021
เหล็ก ตะแกรงเหล็ก

Worldsteel

Worldsteel ปรับลดแนวโน้มอุปสงค์เหล็กทั่วโลก เนื่องจากการชะลอตัวของจีน Update : 18 ตุลาคม 2564 เหล็ก    ความต้องการเหล็กทั่วโลกในปี 2021 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.5% ซึ่งต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศจีน
โดยสมาคมเหล็กโลก (World Steel Association) กล่าวเมื่อวันที่ 14 ต.ค. ถึงแนวโน้มระยะสั้นของปี 2021 และ 2022 ประเทศจีนซึ่งผลิตเหล็กดิบมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก คาดว่าสิ้นปี 2021 จะมีความต้องการลดลง 1% เหลือที่ปริมาณ 985.1 ล้านตัน ซึ่งเทียบกับแนวโน้มก่อนหน้านี้ที่จะมีการเติบโต 3% ในปี 2022 คาดว่าความต้องการเหล็กในประเทศจีนไม่ขยายตัว โดยภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซาตามนโยบายของรัฐบาล
เกี่ยวกับการปรับสมดุลและรักษาสิ่งแวดล้อม
ในขณะเดียวกัน ความต้องการเหล็กนอกประเทศจีนคาดว่าจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดในปี 2021โดยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น โดย worldsteel ได้ทบทวนการคาดการณ์แล้ว
โดยความต้องการของโลกที่ไม่รวมประเทศจีน คาดว่าจะเติบโต 11.5% ในปี 2021 อยู่ที่ 870.3 ล้านตัน และเพิ่มขึ้น 4.7% ในปี 2565 อยู่ที่ 911.3 ล้านตัน
แทนที่จะเพิ่มขึ้น 9.3% ในปี 2021 เป็น 849.1 ล้านตัน และเพิ่มขึ้น 4.7% ในปี 2022 เป็น 889.5 ล้านตัน Al Remeithi ประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจ worldsteel กล่าวว่า “ปี 2021 ได้เห็นการฟื้นตัวของอุปสงค์เหล็กที่แข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้มีการ
ปรับขึ้นในการคาดการณ์ของเราทั้งหมด ยกเว้นในประเทศจีน” “กิจกรรมการผลิตที่แข็งแกร่งซึ่งได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่ถูกกักไว้เป็นปัจจัยหลัก
ประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นทำได้ดีกว่าที่เราคาดไว้ก่อนหน้านี้ โดยมีส่วนต่างที่มากกว่าประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งสะท้อนถึงประโยชน์เชิงบวกของอัตราการฉีดวัคซีน
ที่สูงขึ้น และมาตรการสนับสนุนจากรัฐบาล ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย แนวโน้มการฟื้นตัวถูกขัดจังหวะด้วยการกลับมาของการติดเชื้อ”
ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การล็อกดาวน์ที่ตรงเป้ามากขึ้นช่วยลดผลกระทบของคลื่นการติดเชื้อล่าสุดที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปี 2021 อย่างไรก็ตาม
ปัญหาคอขวดของห่วงโซ่อุปทานและภาคบริการที่ชะลตัวทำให้ไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง มีการคาดหมายว่าภาย ในปี 2022 ปัญหาคอขวดในห่วงโซ่
อุปทานจะลดลง อุปสงค์ที่ถูกกักไว้ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจที่เพิ่มขึ้น จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับโมเมนตัมในการฟื้นตัว สมาคมกล่าว
หลังจากการลดลง 12.7% ในปี 2020 ความต้องการเหล็กจะเพิ่มขึ้น 12.2% ในปี 2021 และเพิ่มขึ้น 4.3% ในปี 2022 ซึ่งแตะถึงระดับก่อนเกิดการโรคระบาด
ในประเทศกำลังพัฒนา ยกเว้นประเทศจีน เหล็กฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2021 โดยได้รับการสนับสนุนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และการค้าระหว่างประเทศที่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม คลื่นการระบาดโควิด-19 รอบใหม่ ประกอบกับระดับการฉีดวัคซีนที่ต่ำ และการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในการท่องเที่ยวระหว่างประเทศเป็นข้อจำกัด
ของประเทศกำลังพัฒนา แต่ในปีหน้าเมื่อการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้า สภาวะในประเทศกำลังพัฒนาก็คาดว่าจะดีขึ้น Worldsteel กล่าว
แหล่งที่มา : Steel Business Briefing
30 มิถุนายน 2021

จีนเพิ่มการลดกำลังการผลิต แต่ราคาเหล็กการก่อสร้างชะลอตัว Update : 29 มิถุนายน 2564    
30 มิถุนายน 2021

HRC ในเอเชียทรงตัวท่ามกลางการฟื้นตัวในจีน Update : 28 มิถุนายน 2564    
30 มิถุนายน 2021

เวียดนามส่งออกเหล็กไปจีน 2 เท่า Update : 24 มิถุนายน 2564    
4 มิถุนายน 2021

ผู้ผลิตเหล็กเกาหลีใต้ปรับขึ้นราคาเหล็กสำหรับผลิตรถยนต์ เหตุวัตถุดิบแพง Update : 1 มิถุนายน 2564    
26 พฤษภาคม 2021

จีนจะกำกับดูแลราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างใกล้ชิดมากขึ้น หลังจากที่ราคาปรับเพิ่มขึ้น Update : 25 พฤษภาคม 2564    
26 พฤษภาคม 2021

กระทรวงอุตสาหกรรมผนึกพาณิชย์แก้ปัญหาเหล็กแพง เล็งขอความร่วมมือตรึงราคาสอดคล้องต้นทุน Update : 23 พฤษภาคม 2564    
26 พฤษภาคม 2021

กระทรวงอุตสาหกรรม ทบทวนค่า K แก้เหล็กแพงให้กลุ่มก่อสร้างงานรัฐ Update : 23 พฤษภาคม 2564    
21 พฤษภาคม 2021

เหล็กแผ่นรีดร้อน (HRC) ของเอเชียลดลง ท่ามกลางตลาดจีนที่อ่อนตัวลง Update : 21 พฤษภาคม 2564    
21 พฤษภาคม 2021

กรมบัญชีกลาง รื้อราคากลาง หลังราคาเหล็กพุ่งไม่หยุด Update : 20 พฤษภาคม 2564    
21 พฤษภาคม 2021

สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2564 Update : 20 พฤษภาคม 2564    
21 พฤษภาคม 2021

พาณิชย์ หารือหน่วยงานรัฐ-เอกชน ถกแนวทางคิดค่า K ลดผลกระทบเหล็กราคาสูง Update : 20 พฤษภาคม 2564    
21 พฤษภาคม 2021

เหล็กจีนแพง 200% สะเทือนไทย-สะท้านโลก Update : 19 พฤษภาคม 2564    
19 พฤษภาคม 2021

สหรัฐ-อียูเห็นชอบระงับการเก็บภาษีนำเข้าเหล็กกล้าชั่วคราว Update : 18 พฤษภาคม 2564    
19 พฤษภาคม 2021

7 สมาคมเหล็กยื่นหนังสือนายกเสนอ 5 แนวทางช่วยผู้ใช้เหล็ก Update : 18 พฤษภาคม 2564    
27 เมษายน 2021
มาเลเซียเรียกเก็บภาษี AD

มาเลเซียเรียกเก็บภาษี AD เหล็กกล้าไร้สนิมรีดเย็นจากอินโดนีเซีย และเวียดนาม Update : 27 เมษายน 2564    
27 เมษายน 2021

TSTH คาดยอดขายเหล็กงวดปี 64/65 โตตามดีมานด์-ราคาสูง, ราคาหุ้นพุ่งตามภาพรวมอุตสาหกรรม Update : 26 เมษายน 2564    
24 เมษายน 2021
ราคาเหล็ก

ราคาสินค้าเหล็กไทย-เหล็กโลกยังปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง Update : 25 เมษายน 2564